สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญใน สอ. ในช่วงวันที่ 1 - 15 มี.ค. 2564

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญใน สอ. ในช่วงวันที่ 1 - 15 มี.ค. 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,051 view

๑. ผลกระทบจากปัจจัย Brexit ต่อภาคธุรกิจสอ.
    ๑.๑ การนำเข้าส่งออก รายงานของ สนง.สถิติแห่งชาติ (Office for National Statistics – ONS) ระบุว่า การส่งออกสินค้าจาก สอ. ไป EU ในเดือน ม.ค. ๖๔ มีมูลค่าลดลงประมาณร้อยละ ๔๐.๗ คิดเป็นมูลค่า ๕.๖ พันล้านปอนด์ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าลดลงร้อยละ ๒๘.๘ คิดเป็นมูลค่า ๖.๖ พันล้านปอนด์ ซึ่งถือเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดใน ปวศ. อย่างไรก็ดี ภาพรวมการค้าระหว่าง สอ. - ปท. Non-EU ในเดือน ม.ค. ๖๔ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๗ นอกจากนี้ ข้อมูลของ ONS ยังสะท้อนว่า ศก. สอ. ในเดือน ม.ค. ๖๔ หดตัวลงร้อยละ ๒.๙ และมีขนาดเล็กลงกว่าช่วงก่อนวิกฤตโควิดประมาณร้อยละ ๙ โดยสภาหอการค้าสอ. (British Chambers of Commerce–BCC) และ KPMG ประเมินว่าปัจจัย Brexit เป็นสาเหตุหลักของการลดลงดังกล่าวและจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของ ศก. สอ. โดยรวมในไตรมาสที่หนึ่งของปีนี้ด้วย
          เกี่ยวกับข่าวดังกล่าว โฆษกของ รบ. สอ. รวมทั้งนาย David Frost อดีต หน. คณะเจรจา Brexit ของ สอ. ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รมช. ประจำ สนง. ครม. (Minister of State in the Cabinet Office) ได้ชี้แจงว่าสถิติการนำเข้าส่งออกของเดือน ม.ค.๖๔ ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึง คสพ. ทางการค้าระหว่าง สอ. – EU หลัง Brexit ที่แท้จริงเนื่องจากเป็นเดือนแรกที่ภาคธุรกิจของทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการปรับตัวกับกฎระเบียบ/ขั้นตอนใหม่หลัง Brexit กอปรกับการมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการกักตุนสินค้าในปริมาณมากล่วงหน้าก่อน Brexit ในเดือน ธ.ค. ๖๓ และการล็อกดาวน์ในเดือน ม.ค. ๖๔ ทั้งใน สอ. และ EU ทำให้อุปสงค์ในเดือน ม.ค. ๖๔ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ รายงานของ ONS ข้างต้นประเมินด้วยว่า ภาคธุรกิจ สอ. เริ่มปรับตัวกับกฎระเบียบใหม่ได้ดีขึ้นในช่วงปลายเดือน ม.ค. ๖๔ เป็นต้นมา โดยปริมาณการนำเข้าส่งออกระหว่าง สอ. – EU เริ่มปรับตัวสู่ระดับปกติตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ก.พ. ๖๔
    ๑.๒ แรงงาน ข้อมูลจาก Migration Observatory พบว่าอุตสาหกรรม สอ. ส่วนใหญ่ที่พึ่งพา
การจ้างงานชาวต่างชาติมีสัดส่วนการจ้างแรงงานจาก EU ประมาณร้อยละ ๕๐ โดยแยกตามภาคธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้

ภาคธุรกิจ

ชาว EU

ชาว Non-EU

Hospitality

ร้อยละ ๑๓

ร้อยละ ๑๖

ขนส่งและจัดเก็บสินค้า

ร้อยละ ๑๓

ร้อยละ ๑๕

อุตสาหกรรมการผลิต

ร้อยละ ๑๑

ร้อยละ ๘

การค้าปลีก

ร้อยละ ๘

ร้อยละ ๑๐

สาธารณสุขและ social care

ร้อยละ ๖

ร้อยละ ๑๔

จากข้อมูลดังกล่าว ผู้แทนภาคธุรกิจ Hospitality ก่อสร้าง อุตสาหกรรมการผลิต และ social care ได้ออกมาแสดงความกังวลว่า ระบบตรวจคนเข้าเมืองใหม่หลัง Brexit อาจทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานชาวต่างชาติที่จำเป็นและจะกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวหลังวิกฤตโควิด รวมถึงจะเป็นอุปสรรคต่อแผนการลงทุนของ รบ. สอ. ในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ Office for Budget Responsibility (OBR) [1]ประเมินว่า กฎการเข้าเมืองใหม่ที่มีความเข้มงวดจะส่งผลให้ชาวต่างชาติที่ย้ายถิ่นพำนักออกจาก สอ. ในช่วงวิกฤตโควิดจะไม่สามารถกลับเข้ามาได้เป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดปรากฏการณ์ Net outward migration (คนเดินทางออกมากกว่าคนเดินทางเข้า) โดย สอ. จะมีจำนวน ปชก. ที่แท้จริง (และปริมาณคนทำงาน) ลดลงในอนาคต ซึ่งเป็นหนึ่งในผลกระทบระยะยาว (scarring effects) ของ Brexit โดยเฉพาะแรงงานในสาขา social care อย่างไรก็ดี นาย Kevin Foster รมช. มท. (ด้านการตรวจคนเข้าเมืองและพรมแดนในอนาคต) ให้ความเห็นว่า ระบบการตรวจคนเข้าเมืองใหม่จะเอื้อต่อแรงงานทักษะสูงและที่จำเป็นแต่ขาดแคลนเท่านั้น ดังนั้น ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ควรแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมุ่งเน้นการฝึกทักษะอาชีพให้แก่แรงงานใน สอ. เป็นอันดับแรกก่อน โดย รบ. สอ. มีมาตรการสนับสนุน งปม. ให้เกิดการปรับปรุงทักษะแรงงาน (apprenticeship) ด้วยการฝึกภาคปฏิบัติแล้ว[2] เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนย้ายงานและลดอัตราการว่างงานใน สอ. ลงต่อไป

๒. ผลกระทบจากวิกฤตโควิดต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของ สอ.
    ๒.๑ ซุปเปอร์มาร์เก็ต Sainsbury’s ประกาศแผนเลิกจ้าง พนง. ในส่วนของ สนง. ใหญ่และปิดศูนย์กระจายสินค้าออนไลน์ ๑ แห่งในกรุงลอนดอน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ พนง. จำนวน ๑,๑๕๐ ตำแหน่ง นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนปิด/ปรับปรุงพื้นที่ สนง. ในเมืองต่าง ๆ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและส่งเสริมให้ พนง. ทำงานจากบ้านต่อไป ทั้งนี้ นาย Simon Roberts หน. ฝ่ายบริหารของ Sainsbury’s ให้ข้อมูลว่า แผนฟื้นฟูโครงสร้างธุรกิจดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนและช่วยให้บริษัทสามารถนำเงินมาลงทุนในระบบออนไลน์และการจัดส่งสินค้าเพื่อตอบสนองปริมาณการจับจ่ายสินค้าทางออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงจะสามารถจัดกิจกรรมลดราคาสินค้าเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับซุปเปอร์มาร์เก็ตอื่น ๆ ด้วย ก่อนหน้านี้ Asda หนึ่งในซุปเปอร์มาร์เก็ตคู่แข่งได้ประกาศแผนฟื้นฟูโครงสร้างของบริษัทโดยลดจำนวน พนง. พื้นที่ สนง. และเน้นพัฒนาการบริหารจัดการช่องทางจำหน่ายออนไลน์เช่นกัน
        อนึ่ง เมื่อต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา Amazon ได้เปิดร้านจำหน่ายสินค้า Grocery แบบไม่มี
จุดชำระเงิน (till-less) และให้บริการด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์แห่งแรกใน สอ. แล้วโดยใช้ชื่อว่า Amazon Fresh ในย่าน Ealing ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน ซึ่งผู้ที่เป็นสมาชิกของ Amazon สามารถใช้บริการผ่านแอพลิเคชันบนมือถือโดยสแกนรหัสบนโทรศัพท์เพื่อเข้าใช้บริการในร้าน ภายในร้านจะติดตามลูกค้าด้วยใช้ระบบเซนเซอร์ ส่วนการชำระเงินจะคิดจากบัญชี Amazon ของลูกค้าโดยตรงเมื่อออกจากร้าน โดยไม่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับ พนง. ซึ่งตอบรับกับยุค social distancing ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มอีก ๒๐ แห่งใน สอ. ภายในปี ๒๕๖๕ โดยก่อนหน้านี้ Amazon ได้เริ่มจำหน่ายสินค้า Grocery ใน สอ. ผ่านช่องทางออนไลน์ภายใต้ชื่อ Amazon Fresh โดยร่วมมือกับห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต Morrisons ซึ่งได้รับการตอบรับด้วยดีอย่างต่อเนื่อง
๒.๒ ห้างสรรพสินค้า John Lewis รายงานผลประกอบการในปี ๒๕๖๓ ที่ขาดทุนคิดเป็นมูลค่า ๕๑๗ ล้านปอนด์ ซึ่งถือเป็นการขาดทุนประจำปีครั้งแรกใน ปวศ. แม้ว่าซุปเปอร์มาร์เก็ต Waitrose ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ John Lewis จะมียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ยังไม่สามารถทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ส่งผลต่อยอดจำหน่ายโดยรวม กอปรกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงโครงสร้างบริษัทและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ พนง. ที่ถูกเลิกจ้างด้วย บริษัทจึงมีแผนปิดสาขาเพิ่มเติมอีกไม่เกิน ๘ แห่ง (จาก ๔๒ แห่งทั่ว สอ.) ในปีนี้ (ในปี ๒๕๖๓ บริษัทได้ปิดสาขาไปแล้วจำนวน ๘ แห่งใน Birmingham, Watford, Newbury, Swindon, Tamworth, Croydon และสาขาย่อยในสถานีรถไฟ St. Pancras และสนามบิน Heathrow) ทั้งนี้ บริษัทคาดการณ์ว่ายอดขายออนไลน์จะเพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็นร้อยละ ๗๐ ของยอดขายทั้งหมดตั้งแต่ปี ๒๕๖๘ เป็นต้นไป
    ๒.๓ อุตสาหกรรมการบิบ. Roll-Royce ขาดทุนเป็นจำนวนเกือบ ๔ พันล้านปอนด์ในปี ๒๕๖๓(เทียบกับผลกำไรจำนวน ๕๘๓ ล้านปอนด์ในปี ๒๕๖๒) เนื่องจากปัจจัยวิกฤตโควิดทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบินหยุดชะงัก ส่งผลให้ Roll-Royce ซึ่งมีรายได้จากการให้บริการดูแลด้านเครื่องยนต์และอะไหล่เครื่องบินโดยสารพาณิชย์ซึ่งเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทลดลงอย่างมหาศาล โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ปลด พนง. มากถึง ๗,๐๐๐ คน และต้องระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากผู้ถือหุ้นและนักลงทุนเพื่อพยุงธุรกิจไว้แม้บริษัทจะมีรายได้เพิ่มขึ้นในส่วนธุรกิจผลิตเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินรบในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม แต่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ ๓๐ ของโครงสร้างรายได้เท่านั้น ทั้งนี้ นาย Warren East หน. ฝ่ายบริหารของ Rolls-Royce คาดว่า ปัจจัยจากความสำเร็จในการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้แก่ ปชช. ของ รบ. สอ. จะช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจท่องเที่ยวและการบินฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งอาจช่วยให้ผลประกอบการปรับตัวขึ้นในระดับร้อยละ ๕๕ ของช่วงก่อนวิกฤตโควิด

๓. ด้านนโยบายต่าง ๆ ของ รบ. สอ.
    ๓.๑ เมื่อวันที่ ๓ มี.ค. ๖๔ นาย Rishi Sunak รมว. กค. สอ. ประกาศแผน งปม. ในปี ๒๕๖๔ [3]
โดยมุ่งเน้นขยายมาตรการช่วยเหลือการจ้างงานและภาคธุรกิจเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการล็อกดาวน์ในช่วงไตรมาสแรกของปี และเพื่อช่วยขับเคลื่อน ศก. สอ. ให้ฟื้นตัวขึ้นได้หลังจากการผ่อนคลายล็อกดาวน์ควบคู่ไปกับการรักษาวินัยการคลัง ซี่งประกอบด้วยมาตรการสำคัญ ดังนี้
          ๑) การจ้างงาน – ขยายมาตรการช่วยเหลือค่าจ้าง (Furlough Scheme) ไปจนถึงสิ้นเดือน ก.ย. ๖๔ (เดิมสิ้นสุดในเดือน เม.ย. ๖๔) โดย รบ. จะให้เงินช่วยเหลือค่าจ้างร้อยละ ๘๐ จากจำนวน ชม. ที่ไม่ได้ทำงานไปจนถึงเดือน มิ.ย. ๖๔ และจะลดลงเหลือร้อยละ ๗๐ (นายจ้างสมทบร้อยละ ๑๐) ในเดือน ก.ค. ๖๔ และร้อยละ ๖๐(นายจ้างสมทบร้อยละ ๒๐) ในเดือน ส.ค. และ ก.ย. ๖๔ / ขยายมาตรการให้เงินช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว (Self-Employed Income Support Scheme) ในอัตราร้อยละ ๘๐ ของยอดกำไรเฉลี่ย ๓ เดือนจากรายงานการเสียภาษีในปี งปม. ก่อนหน้า หรือไม่เกินจำนวน ๗,๕๐๐ ปอนด์ต่อรายโดยครอบคลุมผู้ที่ลงทะเบียนประกอบอาชีพส่วนตัวในปีที่ผ่านมาด้วย / เพิ่มเงินให้แก่บริษัทที่จ้างงาน นร. /นศ. จบใหม่จากจำนวน ๑,๐๐๐ ปอนด์ต่อคน เป็น ๓,๐๐๐ ปอนด์ต่อคน / ขยายเวลาการจ่ายเงินสวัสดิการสังคม Universal Credit เพิ่ม (๒๐ ปอนด์ต่อสัปดาห์) ออกไปอีกเป็นเวลา ๖ เดือน (จนถึงเดือน ต.ค. ๖๔) / ปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำจาก ๘.๗๒ ปอนด์ เป็น ๘.๙๑ ปอนด์ต่อ ชม. ตั้งแต่เดือน เม.ย. ๖๔ เป็นต้นไป
          ๒) ภาษี – ปรับขึ้นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporation Income tax) จากร้อยละ ๑๙ เป็นร้อยละ ๒๕ สำหรับบริษัทที่มีผลกำไรมากกว่า ๒๕๐,๐๐๐ ปอนด์ต่อปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน เม.ย. ๖๖ เป็นต้นไป (ซึ่งยังถือเป็นอัตราภาษีที่ต่ำที่สุดใน ปท. กลุ่ม G7) สำหรับบริษัทที่มีผลกำไรต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐ ปอนด์ต่อปีจะยังคงเสียภาษีฯ ในอัตราร้อยละ ๑๙ / คงอัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่าประกันสังคม และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของสินค้าไว้เท่าเดิมจนถึงปี ๒๕๖๙ / ปรับขึ้นฐานรายได้ที่ได้รับการลดหย่อนภาษีโดยเริ่มเก็บภาษีในอัตราร้อยละ ๒๐ สำหรับผู้ที่มีรายได้ ๑๒,๕๗๐ ปอนด์ขึ้นไป (จากเดิมเริ่มเก็บที่ ๑๒,๕๐๐ ปอนด์) และอัตราร้อยละ ๔๐ สำหรับผู้มีรายได้ ๕๐,๒๗๐ ปอนด์ขึ้นไป (จากเดิมเริ่มเก็บที่ ๕๐,๐๐๐ ปอนด์) ตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙ / ขยายมาตรการยกเว้นการจัดเก็บภาษี Stamp Duty สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ ปอนด์ ไปจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. ๖๔ และสำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าไม่เกิน ๒๕๐,๐๐๐ ปอนด์ ไปจนถึง
สิ้นเดือน ก.ย. ๖๔
          ๓) การช่วยเหลือภาคธุรกิจ – จัดสรรเงินจำนวน ๕ พันล้านปอนด์ภายใต้โครงการ Restart Grant Scheme เพื่อให้เงินช่วยเหลือแบบ one-off สำหรับธุรกิจในภาค Hospitality สันทนาการ สถานบริการเสริมความงาม และสถานออกกำลังกายที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์จำนวนไม่เกินรายละ ๑๘,๐๐๐ ปอนด์ / การรับประกันเงินกู้ร้อยละ ๘๐ ของวงเงินไม่เกิน ๑๐ ล้านปอนด์ต่อรายในช่วงเดือน เม.ย. – ธ.ค. ๖๔ เพื่อชำระหนี้หรือลงทุน / ขยายมาตรการยกเว้นภาษีธุรกิจสำหรับภาคธุรกิจค้าปลีก Hospitality และสันทนาการในอังกฤษไปจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. ๖๔ (เดิมสิ้นสุดในเดือน มี.ค. ๖๔) / ขยายมาตรการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตราร้อยละ ๕ (จากร้อยละ ๒๐) สำหรับภาคธุรกิจ Hospitality และสถานที่ท่องเที่ยวใน สอ. ไปจนถึงสิ้นเดือน ก.ย. ๖๔ และหลังจากนั้นจะปรับอัตราVAT เป็นร้อยละ ๑๒.๕ จนถึงเดือน มี.ค. ๖๕ (หลังจากนี้ VAT จะใช้อัตราร้อยละ ๒๐ ตามเดิม)
         ๔) ด้านอื่น ๆ – ส่งเสริมนโยบายการกระจายความเจริญไปยังพื้นที่นอกกรุงลอนดอน (leveling up) และกระตุ้นการจ้างงานหลังวิกฤตในภูมิภาคอื่นโดยเฉพาะในภาคเหนือของอังกฤษ โดยการจัดตั้งสนง. กค. ใหม่ที่เมือง Darlington และจัดตั้งธนาคารเพื่อสาธารณูปโภคของ สอ. (UK Infrastructure Bank) ขึ้นในเมือง Leeds / จัดตั้งเขตการค้าเสรี (freeports) เพื่อช่วยกระตุ้น ศก. และส่งเสริมการค้า รปท. จำนวน ๘ แห่ง ได้แก่ เมือง Liverpool, Felixstowe, Plymouth, Thames, Teesside, Humber, Solent และสนามบิน East Midlands
    ทั้งนี้ นาย Sunak กล่าวในรัฐสภา สอ. ด้วยว่า ในภาพรวมมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของ รบ. สอ. ตลอดช่วงวิกฤตโควิดในปี ๒๕๖๓– ๒๕๖๔ มีมูลค่ารวมทั้งหมด ๔.๐๗ แสนล้านปอนด์ ทำให้ รบ. ต้องกู้เงิน งปม. ที่ขาดดุลรวมกว่า ๓.๕๕ แสนล้านปอนด์ในปีนี้และอีก ๒.๓๔ แสนล้านปอนด์ในปีหน้า โดยคาดว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของ สอ. จะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ ๙๗.๑ ในปี ๒๕๖๖๒๕๖๗ รบ. จึงจำเป็นต้องปรับนโยบายจัดเก็บรายได้เข้ารัฐให้สมดุลตามด้วย หากเป็นไปตามแผนดังกล่าว การกู้เงินภาครัฐจะเริ่มลดลงได้ตามลำดับในปีถัดไป (๒๕๖๕) โดยจะเหลือไม่เกินร้อยละ ๕ ของ GDP ต่อปี
    ๓.๒ เมื่อวันที่ ๑๑ มี.ค. ๖๔ รบ. สอ. โดยนาย Michael Gove รมต. ประจำ สนง. ครม. ซึ่งกำกับดูแลการดำเนินการของ สอ. ตาม คตล. การค้า สอ. – EU ประกาศขยายกำหนดเวลาการยกเว้น (ฝ่ายเดียว) ในการบังคับใช้กฎระเบียบการตรวจสอบสินค้านำเข้าจาก EU ใหม่หลัง Brexit ชั่วคราว (grace period) ออกไปอีก ๖ เดือน (จากเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.ค. ๖๔ ตามที่ตกลงกับฝ่าย EU ไว้ ไปจนถึงเดือน ต.ค. ๖๔) เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขั้นตอน/เอกสารการนำเข้าต่อผู้ประกอบการ สอ. รวมทั้งช่วยบรรเทาสถานการณ์ขาดแคลนสินค้าอาหารและปัญหาการส่งพัสดุจาก สอ. ไปยังไอร์แลนด์เหนือด้วย นอกจากนี้ การประกาศมาตรการผ่อนปรนดังกล่าวของ สอ. ยังครอบคลุมการยกเว้นขั้นตอนการสำแดงเอกสารคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสัตว์และแบบฟอร์มภาษีไปจนถึงต้นปี ๒๕๖๕ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นการตอบสนองข้อเรียกร้องของสมาคมผู้ประกอบการใน สอ. ที่เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานและระบบการตรวจสอบต่าง ๆ ในฝ่าย สอ. ยังไม่พร้อม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวของ สอ. ได้สร้างความ
ไม่พอใจให้แก่ฝ่าย EU โดยมองว่า สอ. ตั้งใจละเมิดพันธกรณีตาม คตล. การค้า สอ. – EU และฝ่าย EU มีท่าทีจะพิจารณาดำเนินการตอบโต้ทาง กม. รปท. และอาจกลายเป็นประเด็นข้อขัดแย้งระหว่าง สอ. กับ EU ต่อไป
    ๓.๓ เมื่อวันที่ ๑๕ มี.ค. ๖๔ สนง. ครม. สอ. และ กต. สอ. ประกาศเปิด สนง. แห่งที่สองในเมือง Glasgow และ East Kilbride ของสกอตแลนด์ตามลำดับ เพื่อสนับสนุนการจ้างงานในภาครัฐเพิ่มรวมประมาณ ๑,๐๐๐ ตำแหน่ง และกระจายการพัฒนาสู่เมืองรองโดยจะมีการแต่งตั้ง รมต. ปฏิบัติหน้าที่ประจำ สนง. ดังกล่าวด้วยเพื่อประสานงานกับ รบ. ท้องถิ่นของสกอตแลนด์อย่างใกล้ชิด [4] ทั้งนี้ การเปิด สนง. แห่งที่สองของสองหน่วยงานดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากการมี สนง. ชั่วคราวในปัจจุบันที่ตั้งขึ้นในช่วงการเตรียมจัดการประชุม COP26

๔. ทิศทางเศรษฐกิจ สอ.
    - จากการประกาศแผน งปม. ประจำปีข้างต้น OBR ได้ปรับรายงานการประเมิน ศก. สอ. รอบล่าสุด
ในเดือน มี.ค. ๖๔ [5] โดยคาดการณ์ว่า ศก. สอ. จะฟื้นตัวขึ้นมาเทียบเท่าช่วงก่อนวิกฤตโควิดภายในช่วงกลางปี ๒๕๖๕  (เร็วกว่าที่คาดไว้เดิม ๖ เดือน) และระบุว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นสุงสุดที่อัตราร้อยละ ๖.๕ (ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ ๗.๕) อย่างไรก็ดี OBR คาดว่า ศก. สอ. ในปีนี้จะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ ๔ (เดิมคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ ๕.๕) และร้อยละ ๗.๓ ในปีหน้าและจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ ๑.๖ - ๑.๗ ในช่วงปี ๒๕๖๖ - ๒๕๖๘ ทั้งนี้ วิกฤตโควิดทำให้ ศก. สอ. มีขนาดหดตัวลงร้อยละ ๙.๙ ในปีที่แล้ว ซึ่งหดตัวมากที่สุดในกลุ่ม ปท. G7

. นัยสำคัญต่อไทย
    - สคต. ณ กรุงลอนดอน ประเมินว่า ตลาดสินค้าออนไลน์ใน สอ. กำลังเติบโตมากขึ้นอีกภายหลังจาก
ที่กิจการค้าปลีกใน สอ. ส่วนใหญ่ทยอยเพิ่มการลงทุนด้านขีดความสามารถในการจำหน่ายและโฆษณาทางช่องทางออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่ได้รับความนิยมใน สอ. รวมถึงความนิยมในการสั่งสินค้าอาหารทางออนไลน์ โดยข้อมูลการสำรวจจาก บ. Kantar พบว่า ๑ ใน ๕ ครัวเรือนใน สอ. (หรืออย่างน้อยร้อยละ ๒๕)  มีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารออนไลน์ในปี ๒๕๖๓ นอกจากนี้ ห้างร้านหลายแห่งใน สอ. เช่น Ocado, Tesco และ Sainsbury’s อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบการบริหารจัดการคลังสินค้าขนาดเล็ก (Micro-Fulfilment Centres – MFCs)และระบบขนส่งถึงบ้านแบบรวดเร็ว (Rapid Home Delivery) ที่ใช้พาหนะขนาดเล็กเพื่อรองรับแนวโน้มการจับจ่ายสินค้าออนไลน์ที่มีปริมาณต่อครั้งการจับจ่ายที่น้อยลงแต่มีจำนวนครั้งเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งผู้ผลิตสินค้าไทยที่ส่งออกมายัง สอ. หรือผู้ประกอบการไทยใน สอ. ควรพิจารณาปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ของสินค้าตนให้มีขนาดกะทัดรัดขึ้นและเหมาะสมกับแนวโน้มในธุรกิจขายปลีกและขายตรงดังกล่าว รวมทั้งอาจต้องปรับกลยุทธ์การตลาดผ่านสื่อดิจิทัลเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน เช่น บริการ Online Chat และ Virtual Meeting สำหรับลูกค้าในการพูดคุยกับพนักงานขาย เป็นต้น

[1]https://obr.uk/overview-of-the-march-2021-economic-and-fiscal-outlook/
[2]https://www.apprenticeships.gov.uk/
[3]https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/966161/Budget_2021_Web_accessible.pdf
[4]https://www.gov.uk/government/news/uk-government-to-relocate-over-1000-civil-service-jobs-to-scotland
[5]https://obr.uk/overview-of-the-march-2021-economic-and-fiscal-outlook/