1. เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 61 รบ.สอ. แถลงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก no-deal Brexit เพิ่มเติมอีก 28 ฉบับ อาทิ ผลกระทบโดยตรงที่ชาวบริติชทั่วไปจะได้รับ เช่น ผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าอียูด้วยยานพาหนะส่วนตัวจำเป็นต้องมีใบขับขี่สากลซึ่งมีอายุเพียง 1 ปี/ อาจมีการเก็บค่าธรรมเนียม ในการใช้โทรศัพท์ในกลุ่มประเทศอียู (Roaming) /ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตที่จะต้องเผชิญขั้นตอนทางเอกสารที่เพิ่มขึ้น และต้องผ่านขั้นตอนการรับรองมาตรฐานจากองค์กรของอียูก่อนส่งสินค้าไปอียู/ผลกระทบต่อโครงการศึกษาวิจัย เงินทุนสนับสนุน การจ้างงานของหน่วยงานสำคัญ เช่น โครงการวิจัยด้านยารักษาโรค โครงการอวกาศและเทคโนโลยี เช่น โครงการ Galileo และ EU space surveillance and tracking ฯลฯ
2. เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 61 นาง Christine Lagarde ผอ. IMF เยือน สอ. และกล่าวเตือน รบ. ว่า no-deal Brexit จะทำให้เกิดวิกฤติ ศก. ใน สอ. ได้ โดยจะทำให้ ศก. สอ. ถอยหลังไปถึง 10 ปี ทั้งนี้ IMF คาดว่า ศก. สอ. จะขยายตัวราวร้อยละ 1.5 ในปี ค.ศ. 2018 และ 2019 หากตกลงกับอียูได้ อนึ่ง จากสถิติของ IMF สอ. เสียอันดับการเป็นผู้นำการเจริญเติบโตทาง ศก. ในกลุ่ม G7 แล้ว โดยมี (1) สรอ. และ (2) เยอรมนี เป็นผู้นำ ตามด้วย ฝรั่งเศส แคนาดา สอ. อิตาลี และญี่ปุ่น
3. สอ. มีความพยายามจะออกนโยบายภาษีเงินได้นิติบุคคล (corporate tax) ให้ต่ำกว่าร้อยละ 20 (ปัจจุบันร้อยละ 19 และมีเป้าหมายในปี ค.ศ. 2020 ให้เหลือร้อยละ 17) เพื่อดึงดูดให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาลงทุนใน สอ. หรือยังคงตั้งอยู่ใน สอ. อย่างไรก็ตาม ความพยายามดังกล่าวไม่ได้ประสบผลสำเร็จกับทุกบริษัท เช่น บ. Panasonic ของ ญป. มีแผนย้าย สนง. ใหญ่ประจำยุโรปจากกรุงลอนดอนไปยังกรุงอัมสเตอร์ดัมในเดือน ต.ค. 61 บริษัท Ryohin Keikaku Co., เจ้าของแบรนด์ Muji กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าจะย้าย สนง. ใหญ่ออกจากกรุงลอนดอนหรือไม่ นอกจากนั้น บริษัททางการเงินสัญชาติญี่ปุ่นที่สำคัญ เช่น Nomura, Sumitomo, Mitsui และ Daiwa ได้ประกาศทยอยย้าย สนง. ไปยังนครแฟรงเฟิร์ต เนื่องจากตามกฎหมายของ ญป. หากบริษัทใดที่มีการประกอบการใน ตปท. แต่จ่ายภาษีต่ำกว่าร้อยละ 20 บริษัทดังกล่าวจะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากรบ. ญป. อีก
4. ดัชนี Purchasing Managers Index (PMI) ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกโดยรวมของสอ. ในเดือน ส.ค. 61 ลดลงจาก 53.8 ในเดือน ก.ค. มาอยู่ที่ 52.8 ถือว่าต่ำสุดในรอบ 25 เดือน อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมาก ในเดือน ก.ย. Jaguar Land Rover ประกาศปรับลดวันทำงานของพนักงานจำนวน 2,000 คน ที่ศูนย์การผลิตในเมือง Castle Bromwich ให้เหลือ 3 วัน/สัปดาห์ จนถึงปลายเดือน ธ.ค. เป็นอย่างน้อย (เมื่อเดือน เม.ย. Jaguar Land Rover ปลดพนักงานประจำศูนย์การผลิตที่เมือง Solihull จำนวน 1,000 คน ) ในขณะที่ บริษัท BMW ประกาศแผนฉุกเฉินปิดศูนย์การผลิตรถ Mini ในเมือง Oxford เป็นเวลา 1 เดือน หลัง สอ. ออกจากอียู (29 มี.ค. 62) หากเกิดสถานการณ์ no-deal Brexit อนึ่ง ในขณะนี้ บริษัท BMW, Honda, Nissan และ Toyota ยังไม่มีแผนที่จะย้ายศูนย์การผลิตออกจาก สอ.
5. แม้ สอ. จะตกอยู่ในสภาพดังกล่าว ก็ยังมีบางบริษัทที่เห็นเป็นโอกาส อาทิ Coca-Cola ขยายตลาดจากน้ำอัดลม เข้าซื้อเครือร้านกาแฟ Costa ซึ่งเป็นแบรนด์กาแฟที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก (มี 4,000 สาขาทั่วโลก และ 2,400 สาขาใน สอ.) รองจาก Starbucks นอกจากนั้นบริษัท Goldman Sach เข้ามาขยายธุรกิจการเงินในรูปแบบการให้บริการบัญชีเงินฝากแบบดิจิทัลเพื่อขยายตลาด consumer bank ใน สอ. โดยเสนออัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 (อัตราดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปของธนาคารใน สอ. ราวร้อยละ 1.35-1.4)
ข้อสังเกต
1. ทิศทางการเมืองของ สอ. ซึ่งเต็มไปด้วย sentiment ในแง่ลบ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาค ศก. อาทิการเจรจาของ รบ. กับอียูครั้งล่าสุดที่ประสบความล้มเหลว (การประชุม EU Summit ที่ Salzburg) ท่ามกลางข้อเสนอหาทางออกในรูปแบบอื่นที่เริ่มหนาหูขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งจากนาย Sadiq Khan, Mayor of London ที่เสนอให้มีการลงประชามติครั้งที่ 2 นาย Jeremy Cobyn หน. พรรคฝ่ายค้าน ที่เพิ่งจัดประชุมพรรคประจำปีที่เมืองลิเวอร์พูลเสร็จสิ้นไป ทั้งนี้ พรรค Labor ได้ข้อสรุปว่าจะคัดค้านข้อเสนอ Chequers ของ นรม. เมย์ ในรัฐสภา และหากข้อเสนอ Chequers ไม่ผ่านสภา พรรค labour จะผลักดันให้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ โดยเห็นว่าหาก สอ. ออกจากอียูแบบ no deal ถือเป็นหายนะของชาติ และ รบ. ควรเปิดทางให้ผู้อื่นเข้ามาเจรจากับอียูแทน นอกจากนั้น สมาชิกบางส่วนในพรรค รบ. เอง ก็ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ Chequers กลายเป็นว่า รบ. ต้องรับมือกับศึกทุกทิศ ทั้งในพรรค/นอกพรรค/ กับภาคส่วนอื่น ๆ ใน ปท. /กับองค์กรระหว่างประเทศ และกับอียู อย่างรอบด้าน
2. คงพอจะกล่าวได้ว่าภาพรวมทิศทาง ศก. ของ สอ. ยังอยู่ในสภาวะ “ซึม” และ “รอฟังข่าว” และน่าจะอยู่ในสภาพเช่นนี้ไปเรื่อยๆ หากยังไม่สามารถหาข้อสรุปกับอียูได้ แม้จะมีข่าว/ ตัวเลขสถิติที่คล้ายจะเป็นข่าวดีเกิดขึ้นบ้าง แต่สิ่งเหล่านี้ ยังไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะคลายความวิตกให้แก่นักลงทุนทั้งใน และ ตปท. ได้ อนาคต ศก. สอ. ฝากไว้ในมือภาคการเมือง ขึ้นกับการเจรจา Brexit กับอียูอย่างชัดเจน หากยังหาข้อสรุปไม่ได้ ก็ยากที่จะเรียกความเชื่อมั่นทาง ศก. ให้กลับมาได้
3. ไม่ว่า สอ. จะเดินออกจากอียูด้วย deal ในรูปแบบใด Brexit ได้สร้างความเสียหายให้แก่ ศก. และเสถียรภาพของ สอ.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การขาดความชัดเจนในการหาทางออกของ Brexit ทำให้บริษัทต่างชาติหลายแห่งทยอยย้าย สนง.ใหญ่ไปยังเมืองอื่น ๆ ในอียู เช่น แฟรงค์เฟิร์ต ปารีส อัมสเตอร์ดัมส์ และดับลิน ผู้ได้ ปย. โดยแทบไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไร อาจได้แก่ เยอรมนีและฝรั่งเศส ที่สามารถดึงองค์กรการเงินและการธนาคารสำคัญ เช่น JP Morgan, Goldman Sachs, HSBC, Citigroup, Nomura และ Daiwa ฯลฯ ให้ย้ายไป ปท.ของตนได้ หากบทสรุป คสพ. ของ สอ.-อียู คือ no-deal Brexit ก็คาดว่าจะมีบริษัทใหญ่อีกหลายแห่งที่จะประกาศย้ายฐานจาก สอ. และท้ายที่สุด สอ. อาจจะตกอยู่ในภาวะ recession เหมือนในช่วงปี ค.ศ. 2008 ก็เป็นได้
4. การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ของบริษัทอาจจะเป็นปัจจัยช่วยให้บริษัทอยู่รอด และส่งเสริมการจ้างงานให้กับคนบางกลุ่มที่มีทักษะความรู้เฉพาะทางท่ามกลาง Brexit เช่น อุตสาหกรรม Electric Vehicle (EV) ขยายตัวมากขึ้น มีการขยายการลงทุนเพื่อพัฒนาด้าน Electric Vehicle อย่างจริงจังมากขึ้นตามทิศทางนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ลดการใช้น้ำมัน (โดยเฉพาะดีเซล) และเน้นส่งเสริมรถพลังงานไฟฟ้า แม้ว่าการผลิตในส่วนอื่นจะได้รับผลกระทบมากจาก Brexit เนื่องจาก
มีอียูเป็นคู่ค้าหลัก (เช่น Jaguar Land Rover มีการส่งออกรถยนต์กว่าร้อยละ 50 ไปยังอียู /ร้อยละ 15 สหรัฐฯ/ ร้อยละ 7.5 จีน) จนส่งผลให้ต้องปรับแผนบริหารองค์กร นอกจากนั้น การมองเห็นโอกาสในช่วง ศก. ซบเซา เข้าซื้อกิจการ/อสังหาริมทรัพย์ใน สอ. อาจเป็นจังหวะที่นักลงทุนไทยน่าจะจับตามอง และอาจได้รับข้อเสนอราคาที่ดีก็เป็นได้