สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญในสอ. ในช่วงเดือน ต.ค. 61

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญในสอ. ในช่วงเดือน ต.ค. 61

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 พ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 676 view
1. สภาหอการค้าของ สอ. ชี้ว่าในไตรมาสที่ 3 การจ้างงานในภาคธุรกิจบริการลดลงต่ำสุดในรอบ 25 ปี โดยจากการสำรวจบริษัทกว่า 5,000 แห่ง ร้อยละ 72 แจ้งว่าประสบปัญหาเนื่องจากขาดแคลนผู้สมัครงานที่มีทักษะและความรู้ที่เหมาะสม แม้ว่าบริษัทจะลงทุนเพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่พนักงานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่พอกับความต้องการ สภาหอการค้า สอ. จึงจะพยายามเรียกร้องให้ รบ. สอ. ผ่อนปรนมาตรการเรื่อง immigration เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจและภาคบริการของ สอ.

2. ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของ สอ. มีการขยายตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี โดยสูงขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3.2 ทั้งนี้ บ้านในกรุงลอนดอนเป็นเขตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด มีราคาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ขายและผู้ซื้อขาดความมั่นใจในการลงทุน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ Brexit

3. กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยใน สอ. แสดงความวิตกกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเกิด no-deal Brexit ขึ้นจริง Sir Paul Nurse ผู้ได้รับรางวัลโนเบลจากการวิจัยด้านมะเร็งเต้านม และประธานสถาบัน the Francis Crick Institute กล่าวว่า no-deal Brexit หรือ hard Brexit จะทำให้ สอ. สูญเสียเงินสนับสนุนด้านการวิจัยจากอียูปีละ 1 พันล้านปอนด์ นอกจากนั้น เรื่องการขาด freedom of movement ของคน ก็จะกลายเป็นอุปสรรคในการเข้ามาทำงานใน สอ. ของนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์จากอียู จากการสำรวจนักวิทยาศาสตร์ของสถาบัน the Francis Crick Institute จำนวน 1,000 คน (เป็นชาวอียูร้อยละ 40) ร้อยละ 45 กล่าวว่า Brexit ทำให้การจ้างนักวิทยาศาสตร์เข้าร่วมโครงการยากขึ้น โครงการบางโครงการถูกตัดทิ้ง ค่าใช้จ่ายของโครงการเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเงินปอนด์มีมูลค่าลดลง นอกจากนั้น ร้อยละ 78 ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอียู ระบุว่าจะย้ายออกจาก สอ. หากเกิด no-deal Brexit 

4. เมื่อวันที่ 17 – 18 ต.ค. 61 นรม. เมย์ ร่วมประชุม EU Council Meeting ที่กรุงบรัสเซลส์ ในประเด็นเรื่อง Brexit  ผู้นำอียูทั้ง 27 ปท. ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าในปัญหา “Irish backstop” ทั้งนี้ นรม. เมย์ ได้เสนอแนวคิดในการขยายเวลา transition period (จากเดิมที่ตกลงว่าช่วงเวลาดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในสิ้นเดือน ธ.ค. 63) เพื่อเพิ่มเวลาในการเจรจารายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสอ.-อียู อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังมิได้รับการยืนยันจากทั้งสองฝ่าย จึงต้องติดตามความคืบหน้าในการนัดหารือครั้งต่อไป 

5. เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 61 นาย Philip Hammond รมว. คลัง แถลงเกี่ยวกับการใช้จ่าย งปม. ปี 61 โดยมีการคาดการณ์ถึงการเจริญเติบโตด้าน ศก. ในปีต่าง ๆ การจะเริ่มเก็บภาษีธุรกิจดิจิตัลในเดือน เม.ย. 63 การผ่อนปรนการเก็บภาษีเงินได้/ ภาษีนักลงทุน เพื่อสะท้อนให้เห็นการสิ้นสุดของมาตรการรัดเข็มขัด เป็นต้น ทั้งนี้ สอท. ฯ จะมีรายงานสรุปสาระสำคัญของ งปม. ปี 61 แยกต่างหากในโอกาสแรก  

ข้อสังเกต  
1. รายงาน ศก. สอ. คงจะยังไม่มีอะไรแปลกใหม่ในทางบวกได้มากไปกว่านี้ หากการเมือง สอ. ยังหาความชัดเจนเรื่องการเจรจา Brexit ไม่ได้ ภาค ศก. ก็ยังจะหาความชัดเจนไม่ได้เช่นกัน 

2. ภาคธุรกิจของ สอ. ที่มีความเติบโตได้ในขณะนี้ ดูจะเป็นภาคที่อิงกับการพัฒนาเทคโนโลยีสู่โลกอนาคตที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทิศทางตลาดที่อิงกับ Brexit หรือความเชื่อมั่นของนักลงทุน หรือผู้บริโภคโดยตรง เช่นการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสภาพแวดล้อม เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า  

3. Brexit นอกจากจะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักธุรกิจแล้ว ยังสร้างความรู้สึกแง่ลบให้แก่ชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวอียู เกิดผลกระทบต่อธุรกิจของ สอ. ด้านแรงงาน ดังนั้น นโยบายด้าน immigration ของ สอ. คงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อลดผลกระทบอย่างแน่นอน ล่าสุด นาย Sajid Javid รมว. มหาดไทย เสนอนโยบาย immigration ของพรรค Conservative ว่าจะใช้ระบบ skill-based และการกำหนดอัตรารายได้ขั้นต่ำ ในการพิจารณาการย้ายถิ่นเข้ามาทำงานใน สอ. ของทั้งชาว EU และ non-EU ตั้งแต่ ม.ค. 64 เป็นต้นไป (หลัง สอ. ออกจากอียูอย่างสมบูรณ์) โดยจะพิจารณา high-skilled worker เป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม คงจะต้องจับตาดูนโยบาย immigration หลัง Brexit กันต่อไปว่าจะออกมาในรูปแบบใด รวมถึงการแก้ปัญหาด้านการสนับสนุนการวิจัย/วิทยาศาสตร์ด้วย ทั้งนี้ คำแถลงการณ์ของนาย Philip Hammond รมว. คลัง เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 61 เกี่ยวกับการจัดสรร งปม. ปี 61 ไม่ได้กล่าวเรื่องการรจัดสรรเงินสนับสนุนการวิจัย/วิทยาศาสตร์แต่อย่างใด