สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญในสอ. ในช่วงเดือน พ.ย. 61

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญในสอ. ในช่วงเดือน พ.ย. 61

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ม.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 609 view

1. The Financial Times ประมวลสถิติเกี่ยวกับผลกระทบจากมาตรการ immigration ของ สอ. ซึ่งสร้างความยากลำบากในการจ้างงานแก่บริษัทต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองกรณี Brexit ว่าส่งผลกระทบต่อธุรกิจ 5 ประเภทหลัก ที่ต้องการแรงงานเป็นพิเศษ ได้แก่ (1.) โรงแรมและร้านอาหาร (Hospitality) (2.) ธุรกิจด้าน IT (3.) ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง (4.) ภาคสาธารณสุข (NHS) และ (5.) ธุรกิจบริการรายย่อยเช่น ร้านตัดผม ร้านทำเล็บ และร้านกาแฟ ทั้งนี้ พ่อครัว/แม่ครัว (chef) เป็นตำแหน่งที่ขาดแคลนมากที่สุดสำหรับโรงแรมและร้านอาหาร ในขณะที่ software engineer และ programmer เป็นตำแหน่งที่ได้รับความต้องการสูงสุดในภาคธุรกิจด้าน IT  

2. เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 61 นาย Dominic Raab รมว. กระทรวง Exiting the EU และนาง Esther McVey รมว. กระทรวง Work and Pensions ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่เห็นด้วยต่อร่าง คตล. Brexit (draft withdrawal agreement) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 61 ที่ยังคงให้ไอร์แลนด์เหนืออยู่ภายใต้ Customs Union ของอียู การลาออกดังกล่าวเป็นผลทำให้ค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลงอีกประมาณร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร และดอลล่าร์สหรัฐ

3. บริษัทใหญ่ของ สอ. อาทิ Rolls-Royce , BMW, Airbus, Diageo และสถาบัน CBI สนับสนุนร่าง คตล. Brexit ของ นรม. May โดยกล่าวว่าความคืบหน้าดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเรียกร้องให้ สส. สนับสนุนข้อตกลงดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยง no-deal Brexit อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทยังคงแสดงความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางการเมือง และจะดำเนินการเตรียมแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์ no-deal Brexit ต่อไป

4. เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 61 ได้มีการจัดการประชุม EU Summit ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ สอ. และผู้นำอียูทั้ง 27 ปท. ได้ลงนามเห็นชอบต่อร่าง คตล. Brexit (draft withdrawal agreement) และร่าง political declaration อย่างเป็นทางการ หลังจากนี้ นรม. May จะนำทั้ง 2 ร่างดังกล่าวเสนอต่อสภาสามัญเพื่อขอความเห็นชอบจาก สส. ในวันที่ 11 ธ.ค. 61 

5. นาย Philip Hammond รมว.คลัง สอ. กล่าวว่า จากบทวิเคราะห์ทาง ศก. ที่จัดทำโดย รบ.สอ. ชี้ให้เห็นว่า Brexit จะทำให้ ศก. โดยรวมของ สอ. เล็กลง ไม่ว่า สอ. จะออกจากอียูในรูปแบบใด โดย no-deal Brexit สามารถทำให้ GDP ของ สอ. ลดลงได้ถึงร้อยละ 9.3 ในช่วงระยะเวลา 15 ปี ในขณะที่ข้อตกลงของ นรม. May จะทำให้ GDP ลดลงร้อยละ 3.9 ทั้งนี้ นาย Hammond เห็นว่าข้อตกลงของ นรม. May จะช่วยรักษาผล ปย. ทาง ศก. ของ สอ. ในอียูไว้ได้มากที่สุด ในขณะที่ในแง่การเมือง สอ. ก็จะได้ ปย. ที่สุดจากการไม่ต้องเป็นสมาชิกอียู

ข้อสังเกต

1. แม้ว่า รบ. สอ. และอียูสามารถเห็นพ้องกันในร่าง คตล. Brexit และร่าง political declaration ระหว่าง สอ. กับอียู เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 61 แต่ค่าเงินปอนด์ก็ไม่ได้ปรับตัวขึ้นเนื่องจากนักลงทุนยังคงรอฟังผลสรุปในวันที่ 11 ธ.ค. 61 ว่าสภาสามัญของ สอ. จะเห็นชอบต่อร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวหรือไม่ ทั้งนี้ มีแนวโน้มว่าอาจไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาสามัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินปอนด์อีกระรอกหนึ่ง

2. บริษัทใหญ่ใน สอ. หลายแห่งสนับสนุนร่าง คตล. ของ นรม. May พร้อมทั้งเรียกร้องให้ สส. สนับสนุน คตล. ดังกล่าวด้วย เนื่องจากการตกลงกันได้ ยังให้ผลดีกว่า no-deal Brexit และต้องการให้ความไม่มั่นคงทางการเมืองนี้หยุดลง เพื่อภาค ศก. จะได้เดินหน้าต่อไปได้ มิใช่อยู่ภายใต้ความไม่แน่นอนตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ประเด็นเหล่านี้ อาจมีนัยสะท้อนให้เห็นคล้ายคลึงกับแนวคิดของ รมว. Hammond กล่าวคือการ stay close to the EU มากที่สุดเป็นการรักษาผล ปย. ทาง ศก. ของ สอ. ได้มากที่สุด ตรงกันข้ามกับฝ่าย brexiteer ที่ต้องการให้ stay away from the EU ให้มากที่สุด

3. วันที่ 11 ธ.ค. 61 จะเป็นวันชี้ชะตานัดสำคัญของการเจรจา Brexit ของ สอ. กับอียู และน่าจะเห็นทิศทางการเมืองของ สอ. มากขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมากว่าจะได้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา ซึ่งหากเกิดเหตุดังกล่าวจริง จะทำให้เกิดผลได้หลายทิศทางตามที่หลายฝ่ายทำนายไว้ เช่น อาจต้องมี นรม. คนใหม่หรือไม่ (ซึ่งดูจะไม่ใช่ทางออกที่จะช่วยให้ สอ. พ้นจากสภาวะในปัจจุบันไปได้) / อาจจะต้องมีการลงประชามติอีกรอบหรือไม่ / จะต้องยุบสภามีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ ฯลฯ