วันที่นำเข้าข้อมูล 3 พ.ย. 2563
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
๑. การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบและมาตรการด้าน ศก. ของ รบ. สอ. เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ๑ พ.ย. ๒๕๖๓ สรุปได้ดังนี้
๑.๑ การเปลี่ยนกฎระเบียบเกี่ยวกับบัตรเครดิต เงินกู้ และสินเชื่อ เพื่อให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือหรือยืดหยุ่นให้กับลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการชำระหนี้ อาทิ การยกเว้นดอกเบี้ยหรือผ่อนผันการชำระหนี้
๑.๒ เงินช่วยเหลือ ๒,๑๐๐ ปอนด์แก่ภาคธุรกิจโรงแรมและบริการในพื้นที่ที่ รบ. สอ. กำหนดระดับความเสี่ยงสูง หรือ Tier 2 ขึ้นไป
๑.๓ คชล. สำหรับผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว (self-employed) ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จะปรับเพิ่มจากร้อยละ ๒๐ ของผลก าไรสุทธิเป็นร้อยละ ๔๐
๑.๔ การยุติโครงการ "Furlough" ซึ่งให้เงิน คชล. แก่ผู้ทำงาน เพื่อลดภาระด้าน งปม. ของ รบ.สอ. และเปลี่ยนไปใช้โครงการ "Coronavirus Job Support Scheme" ซึ่งจะปรับรูปแบบการให้เงินช่วยเหลือลูกจ้างลดจากร้อยละ ๓๓ เหลือร้อยละ ๒๐ และกำหนดให้ผู้ว่าจ้างชำระเงินช่วยเหลือแก่ลูกจ้างเพิ่มเติม (top-up wages) ลดลดจากร้อยละ ๓๓ เหลือเพียงร้อยละ ๕ ของเงินเดือน
๑.๕ การปรับเพดานเงินเดือนขั้นต่ำสำหรับผู้รับเงินช่วยเหลือภายใต้โครงการ Universal Credit Income ซึ่งจะลดจำนวนผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าว
๑.๖ การกำหนดเพดานเงินชดเชยแก่ผู้ทำงานภาครัฐที่ออกจากงาน (public sector exit payment) ซึ่งรวมถึงครูและพยาบาล มีผลตั้งแต่วันที่ ๔ พ.ย. ศกนี้ เป็นต้นไป
๑.๗ การใช้โดรนที่น้ำหนักมากกว่า ๒ กก. ต้องขอใบอนุญาต (General Visual Line of Sight Certificate)
๒. ด้านการค้าปลีกและการบริการ
๒.๑ ซุปเปอร์มาร์เก็ต Waitrose และ Co-op ประกาศปรับลดราคาสินค้าหลายรายการเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในช่วงเข้าสู่เทศกาลคริสมาสต์กับซุปเปอร์มาร์เก็ตอื่น ๆ ของ สอ. เช่น Tesco/ Sainsbury's/ Asda และ Morrisons ที่ได้ประกาศปรับลดราคาสินค้าไปก่อนหน้านี้ โดย Waitrose ได้ปรับลดราคาสินค้าขายดีภายใต้ยี่ห้อของตน (own-label products) จำนวน ๒๐๐ รายการ ในขณะที่ Co-op ได้ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า ๕๐ ล้านปอนด์เพื่อปรับลดราคาสินค้าภายใต้ยี่ห้อของตนและยี่ห้ออื่น ๆ รวมกว่า ๓๐๐ รายการ รวมถึงการเปิดตัวสินค้าราคาย่อมเยาใหม่ภายใต้ชื่อ "Honest Value" จำนวน ๕๐ รายการอีกด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจของ บ. Retail Economics ชี้ว่า ผู้บริโภคร้อยละ ๓๖ วางแผนลดการจับจ่ายในช่วงเทศกาล ในขณะที่ร้อยละ ๑๒ คาดว่าจะจับจ่ายเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว
๒.๒ ร้านอาหาร Pizza Express ประกาศแผนเลิกจ้าง พนง. เพิ่มอีก ๑,๓๐๐ ตำแหน่ง (ก่อนหน้านี้ประกาศเลิกจ้าง พนง. จำนวน ๑,๑๐๐ ตำแหน่งและปิดกิจการจำนวน ๗๓ สาขาทั่ว สอ.) นาง Zoe Bowley ผู้บริหารบริษัทฯ กล่าวว่า การแพร่ระบาดในระลอกสอง กอปรกับข้อบังคับของมาตรการจำกัดทางสังคมต่าง ๆ ทำให้จำนวนผู้ใช้บริการภายในร้านทั่ว สอ. ลดน้อยลง โดยเฉพาะกิจการที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจหรือย่านค้าปลีกในใจกลางเมือง
๒.๓ ธรุกิจค้าปลีก ห้าง Boots (บ. Walgreens Boots Alliance เป็นเจ้าของกิจการ) ระบุว่า ยอดขายสินค้าทุกประเภทในร้านค้าทั่ว สอ. (ยกเว้นผลิตภัณฑ์ด้านความงาม) ปรับตัวลดลงเกือบร้อยละ ๓๐ ในช่วงเดือน มิ.ย. - ส.ค. ที่ผ่านมา โดยกิจการที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง (city/town centre) และเขตสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้รับผลกระทบมากสุด ปัจจัยสำคัญเกิดจากแนวโน้มการทำงานจากที่บ้าน และพฤติกรรมการจับจ่ายที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้านแทนการเดินทางเข้ามาในย่านใจกลางเมือง กอปรกับจำนวน นทท. ที่ลดลง ในขณะที่ยอดขายออนไลน์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ ๑๕๕ ทั้งนี้ Boots ได้ทยอยปิดกิจการจำนวน ๑๓๘ สาขาแล้ว (จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่จำนวน ๒๐๐ สาขา) โดยคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนจำนวน ๒ พันล้านปอนด์ภายในปี ๒๕๖๕ นอกจากนี้ Boots ยังประกาศแผนเลิกจ้าง พนง. จำนวน ๔,๐๐๐ ตำแหน่ง (ร้อยละ ๗ ของ พนง. ทั้งหมด) ในเดือน มิ.ย. และได้ปิดกิจการของร้านแว่นตาในเครืออีก ๔๘ สาขาด้วย บ. Walgreens ชี้ว่า ปัจจัยจากสถานการณ์ COVID-19 ท าให้บริษัทวางแผนเพิ่มการลงทุนในด้านดิจิทัลคิดเป็นมูลค่า ๔๐๐ - ๑ พันล้านปอนด์ในปี ๒๕๖๔๔
๓. ด้านธรุกิจและอตุสาหกรรมด้านอื่น ๆ
๓.๑ อาหาร บ. Finnebrogue Artisan (ผลิตอาหารประเภท artisan food ที่มีฐานการผลิตอยู่ในเมือง County Down ของไอร์แลนด์เหนือ) ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า ๒๕ ล้านปอนด์เพื่อสร้างโรงงานผลิตอาหารโรงที่ ๔ ในรอบ ๕ ปี โดยจะเน้นการผลิตอาหารที่ทำมาจากวัตถุดิบที่ไม่ใช้เนื้อสัตว์ (plant-based food) และมีแผนจ้าง พนง. เพิ่มจำนวน ๓๐๐ ตำแหน่งภายในปี ๒๕๖๔ (ปัจจุบันบริษัทมี พนง. จำนวน ๙๐๐ ตำแหน่ง) นาย Andrew Nethercott กรรมการ ผจก. ของ บ. Finnebrogue Artisan กล่าวว่า ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารประเภท plant-based มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่มีการศึกษาที่ต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่รสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และราคาย่อมเยา เช่น ผู้ที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นครั้งคราว (flexitarian) หรือผู้ที่ลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ รวมถึงผู้บริโภคที่มีความพิถีพิถันในการเลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ลูกค้าที่ซื้อเบคอนที่ปราศจากสารไนเตรต และไส้กรอกที่ปราศจากสารกันบูด เป็นต้น ทั้งนี้ นาย George Eustice รมว. สิ่งแวดล้อมยินดีต่อแผนดังกล่าวซึ่งจะช่วยกระตุ้นการจ้างงานระดับท้องถิ่นในไอร์แลนด์เหนือ
๓.๒ Hospitality บ. Whitbread เจ้าของกิจการโรงแรม Premier Inn ร้านอาหาร Beefeater และร้านอาหารกึ่งผับ Brewers Fayre ประสบสภาวะขาดทุนเป็นมูลค่า ๗๒๕ ล้านปอนด์ในช่วงครึ่งแรกของปี ๒๕๖๓ (เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๒ ที่บริษัทมีผลกำไรมูลค่า ๒๒๐ ล้านปอนด์) โดยการล็อกดาวน์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิทำให้ยอดขายลดลงถึงร้อยละ ๙๙ ทั้งนี้ ยอดขายของโรงแรมในเครือโดยเฉพาะในเมืองแถบชายทะเลและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลัก ๆ ของ สอ. เช่น เมือง Bath และเมือง Brighton (ยกเว้นกรุงลอนดอน และเมืองใหญ่อื่น ๆ) ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉลี่ยมาอยู่ที่ร้อยละ ๕๑ ในเดือน ส.ค. ร้อยละ ๕๘ ในเดือน ก.ย. เนื่องจาก ปชช. หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกประเทศ ในขณะที่ยอดขายในเดือน ต.ค. ปรับตัวลดลงอีกครั้งมาอยู่ที่ร้อยละ ๕๐ นาง Alison Brittain หน. ฝ่ายบริหารของ บ. Whitbread คาดว่า แนวโน้มของยอดการจองโรงแรมในเดือน พ.ย. และ ธ.ค. จะปรับตัวลดลงไปอีก เนื่องจากปัจจัยจากการประกาศใช้มาตรการควบคุมตามระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาด (3-tiered COVID Alert system) ในอังกฤษและสกอตแลนด์ รวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ระยะสั้นในเวลส์ แต่มีความคาดหวังจะได้กำไรจากการลงทุนกับการซื้อโรงแรมเพิ่มในเยอรมนีอีก ๑๕ แห่ง (เป็น ๒๑ แห่ง) โดยจะกลายเป็นบริษัทโรงแรมประเภท budget ที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี ทั้งนี้ บ. PwC ได้คาดการณ์ว่าภาคธุรกิจโรงแรมอาจจะใช้เวลาถึง ๔ ปีในการฟื้นตัวให้เท่ากับช่วง ปี ๒๕๖๒
๓.๓ รถยนต์ สมาคมผู้ผลิตและผู้ค้ารถยนต์ของ สอ. (Society of Motor Manufacturers and Traders – SMMT) รายงานว่า ยอดการผลิตรถยนต์ในเดือน ก.ย. ลดลงร้อยละ ๕ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มาอยู่ที่ ๑๑๔,๗๓๒ คัน ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่ต่ำที่สุดในรอบ ๒๕ ปี โดยเป็นผลจากการส่งออกรถยนต์ไปสหรัฐฯ ที่ลดลง นอกจากนี้ ยอดการผลิตรถยนต์ในปีนี้จะอยู่ในระดับต่ำกว่า ๑ ล้านคัน ซึ่งต่ำที่สุดตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ โดยเป็นผลจากมาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศในช่วงเดือน เม.ย. - พ.ค. ทั้งนี้ การผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ของ สอ. เป็นไปเพื่อการส่งออก โดยมีตลาดสำคัญ ได้แก่ EU และสหรัฐฯ โดยยอดการส่งออกในเดือน ก.ย. ได้ปรับตัวลดลงในอัตราร้อยละ ๓.๓ และร้อยละ ๓๐ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยอดขายรถยนต์ภายใน สอ. ในเดือน ก.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๕ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มาอยู่ที่ ๒๗,๑๙๙ คัน ทั้งนี้ SMMT กล่าวเตือนว่า ปัจจัยจาก No-deal Brexit จะยิ่งส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมรถยนต์มากยิ่งขึ้น
๔. ข้อสนเทศเพิ่มเติม
๔.๑ ภาวะการชะลอตัวทาง ศก. ในช่วงเดือน ต.ค. ในช่วง ๒ - ๓ เดือนที่ผ่านมาปรากฏอย่างชัดเจน เนื่องจากการกลับมาบังคับใช้มาตรการการควบคุมการระบาดของ รบ. ซึ่งรวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ระดับท้องถิ่นและมาตรการข้อจำกัดทางสังคมต่าง ๆ โดยภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ได้แก่ ภาคบริการ การขนส่งและการบิน โดยดัชนีบ่งชี้สภาวะทาง ศก. ของภาคการผลิตและบริการ (Purchasing Managers’ Index – PMI) ที่จัดทำโดย IHS Market ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ ๕๒.๙ ในเดือน ต.ค. จาก ๕๖.๕ ในช่วงปลายเดือน ก.ย.
๔.๒ การเตรียมความพร้อมไปสู่ Brexit บริษัทต่างชาติเริ่มทยอยกักตุนสินค้าที่ผลิตใน สอ. ก่อนสิ้นสุดกำหนดช่วงเปลี่ยนผ่านของ Brexit ในวันที่ ๓๑ ธ.ค. ศกนี้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุง ศก. สอ. ในขณะนี้ ล่าสุด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) ประเมินว่า ศก. สอ. ในปี ๒๕๖๓ จะหดตัวร้อยละ ๑๐.๔ และจะฟื้นตัวบางส่วนในปี ๒๕๖๔ ร้อยละ ๕.๗ และคาดการณ์ว่า GDP ของ สอ. ในปีนี้จะอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนสถานการณ์ COVID-19 ร้อยละ ๓ - ๖ โดยมีปัจจัยจากการลงทุนด้านธุรกิจและผลผลิตโดยรวมที่อยู่ในระดับต่ำ กอปรกับอัตราว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ IMF เสนอให้พิจารณามาตรการช่วยเหลือให้แก่แรงงานและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 รวมถึง Brexit ไปจนกว่าผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 จะผ่อนคลาย
๔.๓ ทิศทางเศรษฐกิจ ผลกระทบจาก COVID-19 นำไปสู่แนวโน้มสำคัญในระบบ ศก. ทั้งการปิดถาวร หรือลดขนาดจำนวนกิจการในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและภาคบริการต่าง ๆ รวมถึงไปรษณีย์และธนาคาร โดยในช่วงครึ่งแรกของปี ๒๕๖๓ มีมากถึง ๑๑,๑๒๐ แห่ง ดังจะเห็นได้จากย่านธุรกิจหรือย่านการจับจ่ายสำคัญในกรุงลอนดอนและเมืองใหญ่ที่ซบเซาลงมาก อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคยังคงเน้นการซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ทั้งนี้ จากรายงาน บ. Local Data Company และ บ. PwC ย่านค้าปลีกในเมือง York ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมีการปิดกิจการถาวรทั้งหมดจำนวน ๕๕ แห่ง รองลงมาคือเมือง Newcastle Upon Tyne จำนวน ๔๓ แห่ง ทั้งนี้ ในท่ามกลางสภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน นักวิเคราะห์เห็นว่ายังมีธุรกิจเกิดใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ ร้านค้าปลีกราคาย่อมเยา (value retailer) และธุรกิจการจัดส่งอาหารและพิซซา รวมถึงธุรกิจประเภทบริการในระดับท้องถิ่นที่ยังคงมีอัตราขยายตัวสูงขึ้น เช่น ธุรกิจที่ให้บริการซ่อมแซมบำรุงบ้าน ร้านขายอุปกรณ์ ก่อสร้าง และร้านทำกุญแจ เป็นต้น
-----
[1] https://www.getsurrey.co.uk/news/uk-world-news/new-laws-lockdown-uk-november-19180732
[2] https://www.bbc.co.uk/news/business-54631345 ;
https://www.theguardian.com/business/2020/oct/21/waitrose-and-co-op-to-cut-prices-of-essential-goods-by-an-average-of-15
[3] https://www.bbc.co.uk/news/business-54740003
[4] https://www.theguardian.com/business/2020/oct/15/boots-chain-reports-30-sales-drop-at-retail-sites-in-uk
[5] https://www.bbc.co.uk/news/uk-northern-ireland-54604695
[6] https://www.theguardian.com/business/2020/oct/27/premier-inn-owner-whitbread-loss-local-lockdowns-bookings-profits-covid-hotel-closures
[7] https://uk.reuters.com/article/uk-britain-autos/uk-september-car-production-lowest-in-25-years-industry-says-idUKKBN27E00J
[8] https://www.theguardian.com/business/2020/oct/23/second-covid-wave-hitting-uk-economic-recovery-data-shows
[9] https://www.bbc.co.uk/news/business-54572668