คนไทยในต่างประเทศ

คนไทยในต่างประเทศ

3,510 view

ปกติสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลกจะจัดทำและปรับปรุงข้อแนะนำสำหรับคนไทยที่พำนักในประเทศนั้นๆ สำหรับการใช้ชีวิตในสภาวะการณ์ต่างๆ เป็นระยะเพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินชีวิตให้ปกติ ปลอดภัย และสอดคล้องกับสภาวการณ์ในแต่ละประเทศมากที่สุด

 

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ได้ปรับปรุงข้อแนะนำสำหรับคนไทยที่พำนักในสหราชอาณาจักรในสภาวการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลพื้นฐานได้ตามด้านล่างนี้


ข้อแนะนำสำหรับคนไทยที่พำนักในสหราชอาณาจักรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
 

  1. ในสภาวะปกติ

    1.1   กรุณาสำรวจว่าตนเองและบุคคลในครอบครัวมีเอกสารเดินทางครบถ้วน พร้อมเดินทางโดยตรวจสอบวันหมดอายุของหนังสือเดินทางอย่างสม่ำเสมอ  เอกสารต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน  
     1.2  ถ่ายสำเนาเอกสารเดินทาง หนังสือเดินทาง หน้าวีซ่า บัตรประชาชน และ ทะเบียนบ้าน เก็บแยกไว้อีกชุดหนึ่ง และอาจสแกนเอกสารดังกล่าวเก็บไว้อีกชุดหนึ่งในคอมพิวเตอร์ และใน USB Flash Drive เพื่อความสะดวกในการพกพา
     1.3   มีหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อฉุกเฉิน (999) หมายเลขโทรศัพท์ของสถานีตำรวจท้องถิ่น หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของเขตเทศบาลท้องถิ่น (ค้นหาได้จากเว็ปไซต์ของเมือง หรือเขตเทศบาลที่ตนมีที่พำนัก) และหมายเลขโทรศัพท์ของ NHS (0845 4647) ติดตัวตลอดเวลา
     1.4   ชาร์จแบตเตอรีโทรศัพท์มือถือให้เต็มตลอดเวลา และมีแบตเตอรีสำรอง หรือ Power Bank ติดไว้กับตัว
     1.5  พยายามติดต่อเพื่อนคนไทยในสหราชอาณาจักรฯ สม่ำเสมอ

 

  1. ในสภาวะที่มีความเสี่ยงจากอันตรายต่อร่างกาย หรือทรัพย์สิน (เช่น เกิดภัยพิบัติ หรือ ความไม่สงบเป็นระยะๆ  ซึ่งมีแนวโน้มยืดเยื้อ หรือมีความเป็นไปได้ที่อาจขยายวงกว้าง) 

    2.1  ติดตามข่าวสารจากทางการท้องถิ่น รวมทั้งข้อมูลจากเว็บไซต์ Gov.UK และปฏิบัติตามข้อแนะนำในการปฏิบัติและในเรื่องความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งติดตามข่าวสารของสถานเอกอัครราชทูตฯ ทางเว็บไซต์ london.thaiembassy.org/ หรือ Facebook Royal Thai Embassy, London, UK

    2.2  ติดต่อกลุ่มเพื่อนคนไทย ให้เพื่อนรู้ว่า เราอยู่ที่ใด ไปที่ไหน

    2.3  สำรองอาหาร เครื่องดื่ม เชื้อเพลิง ที่จำเป็น

    2.4  หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีปัญหา หลีกเลี่ยงการเดินทางในยามวิกาล

    2.5  ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตน บุคคลที่ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ควรเดินทางออกนอกพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว

    2.6 จัดเตรียมกระเป๋าที่พกพาได้ พร้อมอพยพทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยบรรจุสำเนาเอกสารที่สำคัญ  เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง บัตรประชาชน ประกันภัย หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญรวมทั้งของญาติและแพทย์ ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยาที่จำเป็น ไฟฉายพร้อมแบตเตอรี่สำรอง เทียน ไฟแช็ก/ไม้ขีด วิทยุพกพา ที่ใช้แบตเตอรี น้ำดื่ม อาหารกระป๋อง ที่เปิดกระป๋อง กระดาษชำระ ผ้าอนามัย ผ้าขนหนู ขนาดห่มได้ กุญแจรถ/กุญแจบ้านสำรอง และ เงินสด

 

  1. ในสภาวะเมื่อเกิดเหตุวิกฤติซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อชีวิต หรือทรัพย์สิน (เช่น เกิดเหตุภัยพิบัติร้ายแรงจลาจล หรือความไม่สงบรุนแรง ส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน)

     3.1  เตรียมหนังสือเดินทาง หรือเอกสารเดินทางให้พร้อมเดินทางหากจำเป็น โดยเอกสารต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน

     3.2 ติดตามข่าวสารจากทางการท้องถิ่นในเรื่องการให้ความช่วยเหลือและปฏิบัติตามข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว และในเรื่องความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

     3.3  ติดตามข่าวสารของสถานเอกอัครราชทูตฯ จากเว็บไซต์ london.thaiembassy.org/ หรือ Facebook Royal Embassy, London, UK   หรือจากสถานเอกอัครราชทูตฯ หมายเลข 0207 589-2944, 0207 225 5500   โทรศัพท์ฉุกเฉิน 0791 865 1720

     3.4  เดินทางออกนอกพื้นที่ที่มีเหตุคุกคามต่อชีวิต หรือทรัพย์สินโดยอาจเตรียมเอกสารและสิ่งของที่จำเป็นไปด้วย

     3.5  สถานเอกอัครราชทูตฯ  สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ และวัดไทยที่ใกล้ที่สุด สามารถเป็นจุดรวมตัวนัดหมายในยามเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

 

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน

The Royal Thai Embassy, London                                

29-30 Queen’s Gate, London SW7 5JB  

Tel: 02075892944,  020 7225 5500  Fax: 02078237492          

Website: london.thaiembassy.org/

Facebook: Royal Thai Embassy, London, UK           

Email:       [email protected]  (วีซ่า)

                 [email protected]  (หนังสือเดินทาง)

                 [email protected]  (นิติกรณ์)

                 [email protected]  (บริการด้านกงสุล เช่น บัตรประจำตัวประชาชน นิติกรณ์ แจ้งเกิด และการขอหนังสือรับรอง เป็นต้น)
 
                 [email protected]  (เรื่องทั่วไป)
 
                 [email protected]  (สารนิเทศ)                                                                 

โทรศัพท์ฉุกเฉิน 0791 865 1720