เอกอัครราชทูตพิษณุ สุวรรณะชฎ ได้เป็นวิทยากรร่วมกับนาย Tony Cotter เอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ในการเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “The Global Rise of Thailand: Thailand Webinar” ซึ่งจัดโดยองค์กร Asia Matters ของไอร์แลนด์ จัดร่วมกับสายการบิน Turkish Airlines

เอกอัครราชทูตพิษณุ สุวรรณะชฎ ได้เป็นวิทยากรร่วมกับนาย Tony Cotter เอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ในการเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “The Global Rise of Thailand: Thailand Webinar” ซึ่งจัดโดยองค์กร Asia Matters ของไอร์แลนด์ จัดร่วมกับสายการบิน Turkish Airlines

วันที่นำเข้าข้อมูล 22 เม.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 1,950 view

เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 64 เอกอัครราชทูตพิษณุ สุวรรณะชฎ ได้เป็นวิทยากรร่วมกับนาย Tony Cotter เอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ในการเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “The Global Rise of Thailand: Thailand Webinar” ซึ่งจัดโดยองค์กร Asia Matters ของไอร์แลนด์  จัดร่วมกับสายการบิน Turkish Airlines

48121

เอกอัครราชทูตไอร์แลนด์แสดงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของไทยในการรับมือกับ COVID-19 ในระลอกนี้ และเห็นว่าไทยจะสามารถเดินหน้าเพื่อฟื้นฟูประเทศได้สำเร็จ ยิ่งกว่านั้น ไทยกับไอร์แลนด์สามารถต่อยอดขยายความเป็นหุ้นส่วนทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และสาธารณสุข ที่ก้าวหน้ามากอยู่แล้วให้เจริญขึ้นได้อีก  และไอร์แลนด์ยังสามารถใช้ไทยเป็นฐานในการเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคได้ด้วย

เอกอัครราชทูตพิษณุฯ ย้ำความมั่นใจว่าไทยจะสามารถฟื้นฟูประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้ โดยแม้จะเกิดการระบาดระลอกใหม่ที่อาจจะชะลอแผนการฟื้นฟูประเทศไปบ้าง แต่การลงทุนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ยังคงเดินหน้าต่อไปตามแผน เพื่อสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพในประเทศและเชื่อมโยงกับภูมิภาค  ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะเป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักธุรกิจและนักลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงไอร์แลนด์เพราะจะเป็นตัวช่วยให้การลงทุนมีความคุ้มค่า ได้ผลกำไร และมีตลาดที่กว้างขวางขึ้น

48120

เอกอัครราชทูตพิษณุฯ ได้ชี้ให้เห็นทิศทางการปรับตัวด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยที่จะปรับตัวไปตามแนวโน้มสำคัญของโลก (Global Megatrends) ในยุคหลังโควิด 4 ประการ ได้แก่ (1) Derisk การลดความเสี่ยงและการเสริมความมั่นคงของมนุษย์ เช่นประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร และการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับโรคระบาดใหม่ ๆ ไทยจึงพร้อมจะเป็นฐานการผลิตเวชภัณฑ์และวัคซีนแห่งใหม่ของโลกและการพัฒนาอาหารเพื่อประชากรโลก (2) Decentralisation การกระจายฐานการผลิตในห่วงโซ่การผลิตโลก (Global Supply Chain) ซึ่งไทยพร้อมเป็นฐานการผลิตทุกสิ่งในห่วงโซ่ดังกล่าว โดยเฉพาะในสาขาการผลิตที่ไทยมีความชำนาญและกำลังต่อยอดให้สูงขึ้นทุกสาขา (3) Decarbonisation ได้แก่ การลดก๊าซเรือนกระจก/ส่งเสริมธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งไทยกำลังยกระดับตัวเองจากความชำนาญที่มี อาทิ จากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงปิโตรเลียมไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ  และ (4) Digitalisation คือ การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตัลอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นแหล่งที่น่าสนใจสำหรับทุกธุรกิจที่ต้องอาศัยดิจิตัลเทคโนโลยี ดังนั้น โอกาสทางธุรกิจที่ไอร์แลนด์ควรให้ความสนใจในประเทศไทยเป็นพิเศษจึงได้แก่ ธุรกิจด้านสุขภาพ อุปกรณ์การแพทย์/สาธารณสุข อาหารยุคใหม่/อาหารสำหรับอนาคต รถยนต์ไฟฟ้า  Fintech และที่สำคัญคือการปรับและเพิ่มทักษะให้กับบุคลากรของไทยเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคตผ่านการศึกษาและฝึกอบรมทุกรูปแบบ

นอกจากนั้น คณะวิทยากรชั้นนำจากไทยและไอร์แลนด์ ได้แก่
(1) Dr. Marian O'Sullivan, Director-General, Institute of Public Administration
(2) Ms. Anne Sinnott, Deputy President, Dublin City University
(3) Mr. Sebastiano, CEO (Asia) Synergy Flavours
(4) ดร.ลัษมณ อรรถาพิช รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  
(5) น.ส.ฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ BOI กล่าวถึงความสำเร็จของความร่วมมือทั้งในด้านการศึกษา การพัฒนาขีดความสามารถบุคลากร และการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตในภูมิภาค ซึ่งมีศักยภาพที่จะต่อยอดได้อีกมากในอนาคต จึงขอเชิญชวญให้ภาคธุรกิจไอร์แลนด์พิจารณาลู่ทางความร่วมมือกับไทยในโอกาสแรก