ไทย-สหราชอาณาจักรลงนามความตกลงเพื่อความร่วมมือในการผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 สำหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไทย-สหราชอาณาจักรลงนามความตกลงเพื่อความร่วมมือในการผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 สำหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วันที่นำเข้าข้อมูล 12 ต.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 4,816 view

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2563 08.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่นของสหราชอาณาจักร) เอกอัครราชทูตพิษณุ สุวรรณะชฎ ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย (โดยกระทรวงสาธารณสุข) บริษัทสยามไอโอไซเอนซ์ บริษัทเอสซีจี และบริษัท AstraZeneca ในการผลิตและการจัดสรรวัคซีนวิจัยป้องกันโควิด-19 แบบ AZD1222 ที่พัฒนา โดยมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สำหรับประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยพิธีลงนามมีขึ้นที่กระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย โดยมีนาย James Teague ตำแหน่ง Country President ของ AstraZeneca (Thailand) ผู้แทนของ AstraZeneca เข้าร่วมการลงนามผ่านระบบออนไลน์จากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน 

หนังสือเจตจำนงฉบับนี้ถือเป็นความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ฉบับแรกของ AstraZeneca ในการผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไทยเป็นประเทศแรกที่บรรลุความตกลงรร่วมผลิตกับบริษัทฯ ในฐานะ "พันธมิตรด้านยุทธศาตร์เพื่อการผลิตวัคซีนสำหรับป้องกัน COVID-19" เพื่อใช้ภายในประเทศไทยและกระจายให้แก่อาเซียน และเป็นความสำเร็จที่สำคัญอีกขั้นหนึ่งของความร่วมมือระหว่างไทยกับหน่วยงานผู้ค้นคว้าวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และผู้ผลิต ได้แก่ บริษัท AstraZeneca ซึ่งภายใต้หนังสือแสดงเจตจำนงนี้ทุกฝ่ายตกลงจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมศักยภาพด้านกำลังการผลิตของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ให้พร้อมรองรับการผลิตวัคซีนจำนวนมากเพื่อให้ประเทศไทยและประเทศไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมกันและรวดเร็ว ทั้งนี้ เจตนารมณ์สำคัญคือการเร่งค้นคว้าและการผลิตวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ประชากรในภูมิภาคโดยไม่หวังผลกำไร อันเป็นภารกิจเบื้องต้นสำหรับมนุษยชาติโดยแท้จริง 

ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี กับ Astra Zeneca และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด โดยการสนับสนุนของรัฐบาลสหราชอาณาจักรและองค์กรด้านสาธารณสุขชั้นนำของโลก อาทิ องค์การอนามัยโลก กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือกับโรคระบาด (CEPI) องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (GAVI) ดังกล่าว เป็นการผนึกกำลังเพื่อช่วยกันกระจายวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 ให้ทั่วถึงโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หลังจากการทดลองทางคลินิกประสบความสำเร็จและหน่วยงานที่กำกับดูแลที่เกี่ยวข้องได้รับรองวัคซีนวิจัยดังกล่าวแล้ว ซึ่งขณะนี้ใกล้จะบรรลุผลในขั้นสุดท้ายแล้ว และคาดว่ากระบวนกาผลิตในประเทศไทยจะสามารถเริ่มต้นได้ภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ