สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญในสอ. ในช่วงเดือน ก.พ. 62

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญในสอ. ในช่วงเดือน ก.พ. 62

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 มี.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 611 view

1. บริษัท Nissan ประกาศยกเลิกแผนการผลิตรถรุ่น X-Trail SUV ที่ฐานการผลิตในเมือง Sunderland ของ สอ. โดยจะย้ายการผลิตรถรุ่นดังกล่าวไปผลิตที่ญี่ปุ่นแทน โดยทางบริษัทฯ ได้ออกมาชี้แจงว่า ความไม่มั่นคงประเด็นความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่าง สอ.- อียู ที่ยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบันเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทางบริษัทฯ ไม่สามารถวางแผนอนาคตล่วงหน้าได้ ทั้งนี้ บริษัท Nissan กล่าวว่า การยกเลิกการผลิตรถรุ่นดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงานจำนวน 7,000 ของบริษัทฯ เนื่องจากจะยังคงดำเนินการผลิตรถรุ่น Qashiqai, Leaf และ Juke ใน สอ. ต่อไป

2. บริษัท Honda ประกาศอย่างเป็นทางการถึงแผนการปิดศูนย์การผลิตรถยนต์ในเมือง Swindon ในปี ๖๔ โดยจะย้ายการผลิตไปยังศูนย์การผลิตใน ญป. แทน โดยบริษัทฯ ให้เหตุผลว่าสืบเนื่องมาจากขนาดของตลาดรถยนต์ (ดีเซล) ในกลุ่ม ปท. ยุโรปที่ลดลง และความต้องการของรถยนต์ electric ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การปิดศูนย์ฯ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อแรงงานกว่า 3,500 คน ของบริษัท และส่งผลกระทบทางอ้อมต่อแรงงานในบริษัท supply chain ที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 3,500 คน ซึ่งหากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์เหล่านี้นำเข้ามากจาก ปทท. ก็ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทยได้ ซึ่งผู้ประกอบการไทยจะต้องวางแผนรับมือในเรื่องดังกล่าว

อนึ่ง การตัดสินใจปิดศูนย์ ฯ ในปี ๖๔ คาดว่ามีปัจจัยสำคัญหลักมาจากการที่ญี่ปุ่น-อียูสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าร่วมกันได้แล้ว ซึ่งหนึ่งในรายละเอียดของข้อตกลงดังกล่าว คือ การที่ทั้งสองฝ่ายสามารถนำเข้า-ส่งออกรถ (motor vehicles) ได้โดยไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ 

3. สายการบิน Flybmi ซึ่งเป็นสายการบินภูมิภาคของ สอ. ที่ให้บริการการบินระหว่าง สอ. – ยุโรป ประกาศล้มละลายและยกเลิกเที่ยวบินโดยสารทั้งหมดโดยมีผลทันทีเมื่อวันที่ ๑๖ ก.พ. ๖๒ ทางบริษัทฯ กล่าวว่า สาเหตุดังกล่าวมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและคาร์บอนที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบการสถานการณ์ความไม่แน่นอนประเด็น Brexit ที่ทำให้ทางบริษัทไม่สามารถ secure ข้อตกลงทางธุรกิจกับยุโรปได้

4. กลุ่มบริษัท Millennium and Copthorne Hotels กล่าวว่า ร.ร. ในเครือของบริษัทกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานชาวอียู เนื่องมาจากความไม่แน่นอนของ Brexit ทั้งนี้ ทางบริษัทเปิดเผยผลกำไรไตรมาสที่ 4 ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 76 ทำให้ผลกำไรโดยรวมของปี 61 ลดลงร้อยละ 28 (เมื่อเทียบกับปี 60) โดยบริษัท กล่าวว่า สงครามการค้าระหว่าง สรอ. - จีน รวมถึงการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจาก Airbnb และการที่ รบ. สอ. ประกาศปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำในปีที่ผ่านมา เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบดังกล่าวให้แก่ ร.ร. ต่าง ๆ ในเครือโดยเฉพาะ ร.ร. ในกรุงลอนดอน อนึ่งในปี 62 ค่าแรงขึ้นต่ำ (สำหรับแรงงานอายุ 25 ปีขึ้นไป) จะปรับเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4.9 จาก 7.83 ปอนด์/ชม. และ 8.21 ปอนด์/ชม. ตั้งแต่ 1 เม.ย. 62 ด้วย

5. รบ.สอ. เผยแพร่การประเมินผลกระทบทาง ศก. สอ. หากเกิด no-deal Brexit สรุปได้ ดังนี้
    (1) ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคบางอย่างจะมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนจากการเสียภาษีนำเข้า
    (2) จะเกิดความล่าช้าในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า โดยเฉพาะการนำเข้าอาหาร (food supply) ที่ สอ. นำเข้ามาจากอียู ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของอาหารทั้งหมด
    (3) จากรายงานเดือน ก.พ. 62 ชี้ให้เห็นว่า บริษัทในภาคอุตสาหกรรมอาหารหลายบริษัทยังไม่มีการเตรียมแผนการในการรับมือหากเกิดสถานการณ์ no-deal Brexit
    (4) ทั้งนี้ no-deal Brexit จะทำให้ ศก. สอ. 15 ปี หลังจากนี้มีขนาดเล็กลงคิดเป็น ร้อยละ 6.3 – 9 เมื่อเทียบกับการสถานะทาง ศก. หาก สอ. ยังคงอยู่ในอียู โดยส่วนที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ เวลส์ (ลดลง ร้อยละ 8.1) สกอตแลนด์ (ลดลง ร้อยละ 8.0) ไอร์แลนด์เหนือ (ลดลง ร้อยละ 9.1) และภาค ตอ. เฉียงเหนือของอังกฤษ (ลดลง ร้อยละ 10.5)

6. เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ๖๒ นรม. เมย์ กล่าวคำแถลงการณ์ต่อ ส.ส. ในสภาสามัญถึงความคืบหน้าในสถานการณ์ Brexit และแนวทางการดำเนินงานต่อไปของ รบ.สอ. ว่า รบ.สอ. จะเปิดให้ ส.ส. ได้มีการลงคะแนนเสียงภายต่อร่าง คตล. ของ นรม.ฯ ภายในวันที่ 12 มี.ค. 62 ซึ่งหากว่าร่างดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ รบ. จะจัดให้มีการลงคะแนนเสียงว่าเห็นด้วยหรือไม่ต่อการให้ สอ. ออกจาก EU โดยปราศจากข้อตกลง (no-deal Brexit) หากสภาฯ ลงคะแนนเสียงคัดค้าน no-deal Brexit รบ. จะให้สภาฯ ลงคะแนนเสียงอีกครั้งต่อข้อเสนอการขยายกำหนดเวลาตามข้อ 50 (extension of Article 50) 

ข้อสังเกต

1. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของ สอ. ถือเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจาก Brexit ทั้งบริษัท Nissan Honda Ford และ Jaguar Land Rover ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองของ สอ. ทำให้นักธุรกิจและนักลงทุนไม่สามารถวางแผนการลงทุนในอนาคตได้ ประกอบกับการที่ตลาดรถยนต์ของกลุ่มผู้ซื้อหลักอย่างยุโรปและจีนปรับตัวลดลงจากปัจจัย เช่น สงครามทางการค้าระหว่าง สรอ. - จีน ที่ส่งผลกระทบในทิศทางลบต่อภาคธุรกิจของจีน ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยลดลง และการเปลี่ยนแปลงทางมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะใน สอ. และ ปท. ในกลุ่มยุโรป ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ใน สอ. เนื่องจากผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการซื้อรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล และหันไปซื้อรถยนต์ electric แทน 

2. การแถลงการณ์ของ นรม.ฯ ตามข้อ 6 ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 60 เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร (1 ปอนด์/ 1.643 ยูโร) เนื่องจากความเป็นไปได้ที่ สอ. จะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดขึ้นของ no-deal Brexit นั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ค่าเงินปอนด์ที่แข็งตัวขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงเสียงตอบรับในทิศทางบวกของนักธุรกิจและนักลงทุนที่มีท่าทีที่ชัดเจนในการคัดค้านการเกิด no-deal Brexit