หนังสือเดินทางทั่วไป

หนังสือเดินทางทั่วไป

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ก.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 10 ต.ค. 2567

| 6,325 view

หนังสือเดินทางทั่วไป

ขั้นตอนการทำหนังสือเดินทาง

documents filltheform feeandtime apppointment
1. เตรียมเอกสาร 2. กรอกแบบฟอร์ม 3. ค่าธรรมเนียมและระยะเวลา 4. จองคิวการทำหนังสือเดินทาง

 

หนังสือเดินทางสูญหาย/หมดอายุ

อายุ 20 ปี ขึ้นไป
อายุต่ำกว่า 20 ปี

หนังสือเดินทางเล่มแรก

อายุ 20 ปี ขึ้นไป
อายุต่ำกว่า 20 ปี

กรณี 1

หนังสือเดินทางสูญหาย/หมดอายุ
(อายุ 20 ปี ขึ้นไป)
  1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
    (กรณีสูญหาย กรุณากรอกแบบฟอร์มบันทึกประกอบคำร้องขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม คลิกที่นี่)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ
    (กรณีสูญหาย/หมดอายุ หรือ ไม่เคยมีบัตรประจําตัวประชาชน ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 2 หรือ 3)
  3. แบบฟอร์มคำร้องหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ คลิกที่นี่
  4. หนังสือเดินทางสามารถรับด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์
    (กรุณานำซองจ่าหน้าถึงตนเอง pre-paid Royal Mail Special Delivery 500g มาในวันนัดทำหนังสือเดินทาง)
  5. จองคิวเพื่อรับบริการ (ไม่สามารถ walk-in ได้) คลิกที่นี่

กรณี 2

หนังสือเดินทางสูญหาย/หมดอายุ
(อายุต่ำกว่า 20 ปี)
  1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
    (กรณีสูญหาย กรุณากรอกแบบฟอร์มบันทึกประกอบคำร้องขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม คลิกที่นี่)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ (สำหรับบุคคลอายุ 7 ปีขึ้นไป)
    (กรณีสูญหาย/หมดอายุ หรือ ไม่เคยมีบัตรประจําตัวประชาชน ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 2 หรือ 3)
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับบุคคลที่ไม่เคยมีบัตรประจําตัวประชาชน)
    (หากไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 1)
  4. สูติบัตรไทย 
  5. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา-มารดาไทย
  6. หนังสือเดินทางของบิดา-มารดา ชาวต่างชาติ
  7. หนังสือเดินทางต่างชาติของผู้ขอหนังสือเดินทาง (หากมี)
  8. แบบฟอร์มคำร้องหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ คลิกที่นี่
  9. หนังสือเดินทางสามารถรับด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ (กรุณานำซองจ่าหน้าถึงตนเอง pre-paid Royal Mail Special Delivery 500g มาในวันนัดทำหนังสือเดินทาง)
  10. จองคิวเพื่อรับบริการ (ไม่สามารถ walk-in ได้) คลิกที่นี่

    หมายเหตุ

    • บิดาและมารดาต้องมาลงนามยินยอมให้บุตรทำหนังสือเดินทาง
    กรณีบิดาหรือมารดาไม่สามารถเดินทางมาได้ ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 5)

กรณี 3

หนังสือเดินทางเล่มแรก (อายุ 20 ปี ขึ้นไป)
  1. สูติบัตรไทย (หากไม่มีสูติบัตรไทย ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 4)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ
    (กรณีสูญหาย/หมดอายุ หรือ ไม่เคยมีบัตรประจําตัวประชาชน ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 2 หรือ 3)
  3. หนังสือเดินทางต่างชาติของผู้ขอหนังสือเดินทาง หรือ เอกสารยืนยันตัวตนอื่นๆที่มีรูปถ่ายของผู้ขอหนังสือเดินทาง
  4. แบบฟอร์มคำร้องหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ คลิกที่นี่
  5. หนังสือเดินทางสามารถรับด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ (กรุณานำซองจ่าหน้าถึงตนเอง pre-paid Royal Mail Special Delivery 500g มาในวันนัดทำหนังสือเดินทาง)
  6. จองคิวเพื่อรับบริการ (ไม่สามารถ walk-in ได้) คลิกที่นี่

กรณี 4

หนังสือเดินทางเล่มแรก
(อายุต่ำกว่า 20 ปี)
  1. สูติบัตรไทย (หากไม่มีสูติบัตรไทย ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 4)
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน (หากไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 1)
  3. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ (สำหรับบุคคลอายุ 7 ปีขึ้นไป)
    (กรณีสูญหาย/หมดอายุ หรือ ไม่เคยมีบัตรประจําตัวประชาชน ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 2 หรือ 3)
  4. หนังสือเดินทางต่างชาติของผู้ขอหนังสือเดินทาง (หากมี)
  5. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา-มารดาไทย
  6. หนังสือเดินทางของบิดา-มารดาชาวต่างชาติ
  7. แบบฟอร์มคำร้องหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ คลิกที่นี่
  8. หนังสือเดินทางสามารถรับด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ (กรุณานำซองจ่าหน้าถึงตนเอง pre-paid Royal Mail Special Delivery 500g มาในวันนัดทำหนังสือเดินทาง)
  9. จองคิวเพื่อรับบริการ (ไม่สามารถ walk-in ได้) คลิกที่นี่

หมายเหตุ

  • บิดาและมารดาต้องเดินทางมาลงนามให้บุตรทำหนังสือเดินทาง
กรณีบิดาหรือมารดาไม่สามารถเดินทางมาได้ ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 5 คลิกที่นี่

หมายเหตุ

    • บิดาและมารดาต้องเดินทางมาลงนามให้บุตรทำหนังสือเดินทาง
    • กรณีบิดาหรือมารดาไม่สามารถเดินทางมาได้ ดู รายละเอียดเพิ่มเติม 5

รายละเอียดเพิ่มเติม 1

ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน

  • กรณีไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน สถานเอกอัครราชทูตฯ จะอนุโลมให้ทำหนังสือเดินทางเล่มแรกได้ เฉพาะเล่ม 5 ปี
  • สำหรับหนังสือเดินทางเล่มที่ 2 ขี้นไป ผู้ร้องต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไทยจึงจะทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้
*วิธีการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน ทำได้ 2 วิธี
1. ดำเนินการด้วยตนเองที่ประเทศไทย ที่สำนักงานเขต/อำเภอที่มีภูมิลำเนาอยู่
2. หากไม่สามารถกลับไปดำเนินการด้วยตนเองได้ กรุณาติดต่อเขต/อำเภอ เพื่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการมอบอำนาจ 

รายละเอียดเพิ่มเติม 2

บัตรประจําตัวประชาชนสูญหาย/หมดอายุ

หากบัตรประจําตัวประชาชนหมดอายุหรือสูญหาย สามารถ walk-in เพื่อทำบัตรประจําตัวประชาชนใหม่ในวันที่นัดหมายทำหนังสือเดินทาง

รายละเอียดเพิ่มเติม 3

ไม่เคยมีบัตรประจําตัวประชาชน

  • กรณีอายุ 20 ปีขึ้นไป และไม่เคยมีบัตรประจําตัวประชาชน ผู้ร้องจะต้องทำบัตรประจําตัวประชาชนใบแรกที่ประเทศไทยก่อนจึงจะสามารถทำหนังสือเดินทางได้
  • กรณีอายุต่ำกว่า 20 ปี สถานเอกอัครราชทูตฯ อนุโลมให้ทำหนังสือเดินทางที่มีอายุ 5 ปี หรือ หนังสือเดินทางฉุกเฉิน 1 ปี โดยบิดา/มารดา ต้องกรอกแบบฟอร์มนิติกรณ์ คลิกที่นี่

รายละเอียดเพิ่มเติม 4

ไม่มีสูติบัตรไทย

บิดาและมารดาจะต้องติดต่อขอจดทะเบียนสูติบัตรไทย ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศที่เด็กเกิดก่อนที่จะขอทำหนังสือเดินทาง


รายละเอียดเพิ่มเติม 5

กรณีบิดา/มารดา
ไม่สามารถเดินทางมาลงนามยินยอมให้บุตรทำหนังสือเดินทางที่สถานเอกอัครราชทูตฯ

กรณีบิดา/มารดาเสียชีวิต

ต้องนำใบมรณะบัตรมาแสดง

กรณีบิดา-มารดาจดทะเบียนสมรส

หากบิดาหรือมารดาไม่สามารถเดินทางมาลงนามที่สถานเอกอัครราชทูคฯ เนื่องจากพำนักอยู่คนละประเทศ บิดาหรือมารดาต้องทำหนังสือยินยอม(คลิกที่นี่)ให้บุตรทำหนังสือเดินทางที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ หรือเขต/อำเภอ/กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

กรณีที่ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี หากผู้ปกครองหรือบิดามารดาไม่สามารถไปในวันยื่นคำร้องได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ(คลิกที่นี่) ให้บุคคลที่ 3 ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว พาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง

กรณีบิดา-มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส : บุตรใช้นามสกุลตามมารดา 

มารดาต้องเดินทางมาลงนามที่สถานเอกอัครราชทูตฯ  โดยนำเอกสารหนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร (ปค.14) ที่ออกจากสำนักงานเขต หรือ สำนักงานทะเบียนอำเภอประเทศไทย

กรณีบิดา-มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส : บุตรใช้นามสกุลตามบิดา

บิดาและมารดาต้องเดินทางมาลงนามที่สถานเอกอัครราชทูตฯ  หากบิดาไม่สามารถเดินทางมาลงนามที่สถานเอกอัครราชทูตฯ  มารดาต้องกรอกแบบฟอร์มบันทึกถ้อยคำ คลิกที่นี่

กรณีบิดา-มารดาหย่าร้าง

บิดาหรือมารดาที่ได้สิทธิปกครองบุตรต้องเดินทางมาลงนามที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยนำเอกสารคำสั่งศาลสหราชอาณาจักรหรือบันทึกการหย่าไทยที่ระบุสิทธิการปกครองบุตรมาแสดง

กรณีบุตรบุญธรรม                                                                      

บิดาและมารดาบุญธรรมต้องเดินทางมาลงนามที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยนำเอกสารหนังสือจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และหนังสือเดินทางของบิดา-มารดาบุญธรรม

ค่าธรรมเนียม/ระยะเวลา

  • หนังสือเดินทางทั่วไป 10 ปี £45
  • หนังสือเดินทางทั่วไป/ราชการ 5 ปี £30
  • หนังสือเดินทางฉุกเฉิน 1 ปี £10
  • เอกสารเดินทางฉุกเฉิน – ไม่มีค่าธรรมเนียม

    *** รับเฉพาะบัตรเดบิต/เครดิต (ไม่รับ Amex) ***

ระยะเวลาทำหนังสือเดินทาง 4-6 สัปดาห์